วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

- Soy peptide

























       หลังจากที่ได้เห็นโฆษณาชิ้นหนึ่ง ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมก็รีบเข้าไปหาข้อมูลของเจ้า soy peptide ทันที พอจะสรุปมาเล่าให้ทุกท่านฟังดังนี้

Soy peptide แปลตามตัวว่า peptide ที่ได้มาจากถั่วเหลือง มีจุดเด่นที่ถั่วเหลืองนั้น มี peptide หรือ amino acid ที่จำเป็นต่อคนอยู่หลายชนิด

ตัว peptide ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของโปรทีน มีความสำคัญต่อกระบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแง่ต่างๆมากมาย (ลองนึกถึงวิชาสปช.หรือวิทยาศาสตร์สมัยเด็กๆ) ส่วนหนึ่งที่โฆษณาชุดนี้พยายามจะเอามาเน้นประโยชน์คือ ในแง่ของการทำงานของสมอง เพราะสารสื่อในสมองหลายๆตัว ก็เป็นโปรทีน ซึ่งการสร้างสารสื่อที่เป็นโปรทีนนี้ ก็ต้องสร้างจาก peptide นั่นเอง หากสมองใช้สารสื่อเหล่านี้หมดไป ก็จะต้องสร้างใหม่ จาก peptide ในกระแสเลือด

นอกจากนี้ในโฆษณา (รวมทั้งในเวปที่เขาอ้างถึง) ยังบอกอีกว่า soy peptide มีผลต่อการเกิดคลื่นสมองชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า คลื่น Alpha ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ ความจำ ลดความเครียด ฯลฯ โดยมีผลการทดลองมาสนับสนุน 2 ชิ้นคือ "A brain science-based study of the effects of soy protein and peptide on human learning, memory and emotion" และ "Effects of soy peptide ingestion on brain waves"

ฟังดูแล้ว ดูเหมือนว่ามันจะเป็นอาหารวิเศษ ที่ช่วยให้คนเรามีการพัฒนาทางสมองได้ดีขึ้น

แต่ พอลองเข้าไปอ่านในเวปของเขาแล้ว (โชคดีมากที่เขายอมเอาเอกสารทางวิชาการมาอ้างอิงด้วย) เรามาดูกันครับว่ามันน่าเชื่อถือขนาดไหน

1. Soy peptide มี amino acid ที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด

ใช่ครับ ข้อนี้จริง และก็จริงพอๆกับการที่เรากินอาหารตามปกติ ที่มีเนื้อ/โปรทีนเป็นส่วนประกอบ

ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องไปกิน soy peptide คุณก็สามารถได้รับ amino acid ครบทุกชนิดเหมือนกัน หรือหากจะอยากกินจริงๆ ก็ไปกินพวกน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ก็ไม่มีความแตกต่างจาก soy peptide ที่ว่า

2. Soy peptide ช่วยให้สมองสร้างสารสื่อได้

ข้อนี้ก็จริงอีกเช่นกัน และก็เหมือนกับข้อ 1. อีกเช่นกันคือ คุณสามารถได้รับ peptide จากอาหารอื่นๆอีกมากมาย

นอกจากนี้ ในโฆษณา ยังพยายามจะแฝงความนัยว่า กินแล้วสมองจะสร้างสารสื่อได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ไม่จริงครับ เพราะการสร้างสารสื่อนั้น ถูกควบคุมโดย DNA ของแต่ละคน ซึ่งการสร้างนี้จะมีขึ้นตามความจำเป็นของร่างกาย ไม่ได้ขึ้นกับว่า มี peptide ในกระแสเลือดมากขึ้น แล้วสมองจะสร้างสารสื่อมากขึ้น

3. Alpha wave ทำให้เรียนรู้ดีขึ้น ความจำดีขึ้น ฯลฯ

จริงครับ ที่เมื่อร่างกายอยู๋ในสภาวะบางอย่าง เช่น ช่วงที่มีสมาธิ หรือพร้อมจะเรียนรู้ สมองจะมีคลื่นนี้มากขึ้น แต่ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ได้จริงครับ ว่าเมื่อมีคลื่นนี้มากขึ้นแล้ว จะทำให้เรียนรู้ดีขึ้นหรือความจำดีขึ้นแต่อย่างใด

นอกจากนี้ หากคุณอยากให้มีคลื่นนี้มากขึ้น เพียงแค่นั่งสงบๆ แล้วหลับตา สมองก็จะมีคลื่นนี้มากขึ้นแล้ว

4. งานวิจัยที่เวปนำมากล่าวอ้าง4.1 A brain science-based study of the effects of soy protein and peptide on human learning, memory and emotion

งานวิจัยนี้ ศึกษาถึงผลของ soy peptide ที่มีต่อการเรียนรู้ และความจำ ในคน โดยเปรียบเทียบระหว่างเครื่องดื่มที่มี soy peptide กับ placebo

ผลออกมาปรากฏว่า กลุ่มที่ได้รับ soy peptide มีแนวโน้มที่จะมีความจำ การเรียนรู้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กิน

แต่ขอโทษครับ การทดลองนี้ทำในคนเพียง 10 คนเท่านั้น หากแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามที่ว่า นั่นคือ มีเพียง 5 คนเท่านั้น ที่มีผลการทดลองแบบนี้

4.2 Effects of soy peptide ingestion on brain waves

การทดลองนี้ ศึกษาถึงผลของ soy peptide ที่มีต่อ Alpha wave ที่อ้างถึง โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับ Soy peptide 8 กรัม, 4 กรัม และกลุ่มที่ได้ placebo

ผลการศึกษาก็ออกมาดี โดยกลุ่มที่ได้รับ Soy peptide สามารถวัดคลื่น alpha ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ placebo

แต่...เช่นเดียวกันกับการทดลองที่แล้วครับ การทดลองนี้ทำในคนแค่ 9 คน หากแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ก็จะได้เพียงกลุ่มละ 3 คนเท่านั้น

ทั้ง 2 การทดลองนี้ มีจุดบอดอยู่ตรงที่ว่า จำนวนผู้ทดลองน้อยมากๆ จนแทบจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้จริงว่า ไอ้ผลที่มันเกิดขึ้นนั้น เป็นผลมาจาก soy protein จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ผลการทดลองทั้ง 2 นี้ ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่ไหนเลย (ใครมันจะบ้าไปลงให้) ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบถึงรายละเอียดต่างๆในการทดลองนี้ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร (ใครที่สามารถหารายงานนี้ได้ช่วยส่งให้ผมด้วย)

สรุปแล้ว soy peptide ก็ไม่ได้มีความวิเศษไปมากกว่าการกินเนื้อ หรืออาหารที่มีโปรทีนอื่นๆ อีกมากมาย ที่มีราคาถูกกว่า และอาจจะอร่อยกว่าที่ขายกันด้วย


เครดิต http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=marquez&group=8

0 ความคิดเห็น:

รวมความรู้ อาหาร โภชนาการ สมอง เพศศึกษา โยคะ สุขภาพ